News Flash
นายกฯ แถลงจัดการหนี้ทั้งระบบ 10.3 ล้านราย โดยเน้นให้ธนาคารรัฐจัดการ นายกเศรษฐา แถลงวานนี้เรื่องการจัดการหนี้ทั้งระบบ 10.3 ล้านราย โดยแบ่งเป็นลูกหนี้ 4 กลุ่ม ได้แก่
1) ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19
1.1 ลูกหนี้ SME ให้ธนาคารรัฐปรับโครงสร้างหนี้ และลดดอกเบี้ย 1%
1.2 ลูกหนี้รายย่อย ให้ธนาคารรัฐพักชำระหนี้
2) ลูกหนี้มีรายได้ประจำ แต่มีภาระหนี้จำนวนมาก
2.1 ข้าราชการ จะเป็นการรวมหนี้ผ่านธนาคารรัฐ และสหกรณ์ โดยจะบังคับใช้กฎหมาย หักเงินเดือนไปชำระหนี้ได้ไม่เกิน 70% ของเงินเดือน และจัดทำสวัสดิการเงินกู้ข้าราชการดอกเบี้ยต่ำ
2.2 สินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล จะปรับโครงสร้างหนี้ผ่าน "คลีนิกแก้หนี้" โดยมีระยะเวลาผ่อนได้นาน 10 ปี และคิดอัตราดอกเบี้ย 3-5%
3) ลูกหนี้ที่มีรายได้ไม่แน่นอน
3.1 เกษตรกร ให้ธนาคารรัฐพักหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย 3 ปี วงเงิน 3 แสนบาท/ราย
3.2 ลูกหนี้ กยศ. จะปรับแผนการผ่อนชำระให้เข้ากับรายได้คนเพิ่งเริ่มงาน, ลดดอกเบี้ยให้เงินต้นลดเร็ว และให้ผู้ค้ำประกันหลุดจากการค้ำประกัน
3.3 สินเชื่อเช่าซื้อ ให้ สคบ.ควบคุมธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ตามประกาศสินเชื่อเช่าซื้อ เมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2022 (สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ใหม่คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 10% รถเก่า 15% และรถจักรยานยนต์ 23%)
4) ลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสียคงค้างหนี้ยาวนาน (NPLs) จะเป็นการรับโอนหนี้ไปให้ AMC ดูแล และจะมีการจัดตั้ง JV AMC ระหว่างสถาบันการเงินของรัฐกับบริษัทบริหารสินทรัพย์
(ที่มา: อินโฟเควสท์, แถลงการณ์ Facebook ไทยคู่ฟ้า)
Implication
มองเป็นกลางเพราะแนวทางการจัดการหนี้ทั้งระบบจะใช้ธนาคารรัฐช่วยเหลือ เรามองเป็นกลาง จากแนวทางการจัดการหนี้ทั้งระบบของนายกที่ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้ธนาคารรัฐในการช่วยเหลือลูกหนี้ ทั้งลูกหนี้ SMEs, เกษตรกร และกยศ. ขณะที่สินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับธนาคารพาณิชย์ และ Finance จะเป็นสินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อเช่าซื้อ ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการต่างๆได้มีการช่วยเหลือลูกหนี้อยู่แล้ว, มีการให้ความร่วมมือในด้านคลินิกแก้หนี้ และการคิดอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อตาม สคบ. แล้ว ทำให้ไม่ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานอย่างมีนัย
ด้าน AMC มองบวกเล็กน้อย จากโอกาสจัดตั้ง JV AMC กับธนาคารรัฐ เราประเมินว่าภาครัฐ และ ธปท. มีโอกาสที่จะปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการจัดตั้ง JV AMC ให้สามารถร่วมมือกับสถาบันการเงินภาครัฐ (ออมสิน, ธ.ก.ส.) ได้เพิ่มเติม จากปัจจุบันที่ให้เฉพาะบริษัทในการกลุ่มการเงินธนาคารพาณิชย์ หนุนให้ AMC มีโอกาสที่จะเข้าซื้อหนี้เสียได้เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะเป็นการซื้อหนี้เสียแบบ Selective ได้แก่ บ้าน และที่ดิน ในพื้นที่กทม. และปริมณฑล
สำหรับกลุ่ม Finance เราประเมินผลกระทบที่จำกัด จากสัดส่วนลูกหนี้ที่ให้ความช่วยเหลือในปัจจุบันไม่เกิน 2% ทั้งนี้เราคงคำแนะนำ “มากกว่าตลาด” จากแนวโน้มผลการดำเนินงานปี 2024E ที่ดีขึ้น ทั้งสินเชื่อที่โตดี, ต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอ, NPL ที่ผ่านจุดสูงสุดในปี 2023E และราคาหุ้นปัจจุบันกลุ่ม Auto-back ยังเทรดต่ำที่ 2024E PBV 2.4X (-1.25 SD below 5-yr average PBV) โดยมี Top pick เป็น TIDLOR (ซื้อ/เป้า 28.00 บาท)
ส่วนกลุ่ม Bank เราประเมินผลกระทบที่จำกัดเช่นกัน เพราะแต่ละธนาคารมีการช่วยเหลือโดยการปรับโครงสร้างหนี้อยู่แล้ว โดยกลุ่มธนาคารเรายังคงให้น้ำหนัก “เท่ากับตลาด” จากดอกเบี้ยหยุดขึ้นและจะปรับลงใน 2H24E, กำไรปี 2024E จะโตชะลอ และ NPL ยังสูง แต่ Valuation ยังถูก โดยเทรดที่เพียง 0.65x PBV (-1.25SD below 10-yr average PBV) โดยมี Top picks เป็น KBANK (ซื้อ/เป้า 155.00 บาท) และ BBL (ซื้อ/เป้า 205.00 บาท)
กลับสู่ด้านบน
DAOL Contact Center Address เลขที่ 87/2 อาคารซีอาร์ซีทาวเวอร์ ชั้นที่ 18 ออลซีซั่นส์เพลส ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
©2025 บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สงวนลิขสิทธิ์