logo
search
flag-th
share-icon

เตรียมความพร้อมเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการลงทุนในต่างประเทศ

ประเด็นร้อนที่ถกเถียงกันตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาในเรื่องของการเก็บภาษีเงินได้จากบุคคลธรรมดาจากการลงทุนในต่างประเทศโดยตรง ซี่งก่อนหน้านี้ กรมสรรพากรได้ยกเว้นภาษีให้กับเงินได้ฯ ที่นำเข้ามายังประเทศไทยข้ามปีภาษี เช่น ลงทุนปี 2565 ได้กำไรในปีเดียวกัน แต่นำเงินกำไรเข้ามาในประเทศในปี 2566 เงินกำไรจากการลงทุนนั้น ถือเป็นเงินได้จากการลงทุนในต่างประเทศที่ได้รับการยกเวินไม่ต้องเสียภาษี แต่เมื่อปลายปีที่ผ่านมา กรมสรรพากรได้มีการเปลี่ยนแปลง โดยตั้งแต่ 1 ม.ค 67 เป็นต้นไป แม้ผู้ลงทุนจะนำเงินได้จากการลงทุนในต่างประเทศเข้ามาในประเทศข้ามปีภาษี ก็ยังต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดา  

 

ซึ่งจริง ๆ แล้วการเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้ที่ได้จากการลงทุนในการลงทุนในต่างประเทศ เป็นกฎหมายที่มีอยู่แล้ว ตามมาตรา 41 แห่งประมวลกฎหมายรัษฎากร รายละเอียดคลิก โดยยึดตามหลักถิ่นที่อยู่ จากการทำงานหรือมีกิจการ หรือทรัพย์สินที่อยู่ต่างประเทศ เมื่อนำเงินได้พึงประเมินเข้ามาในประเทศไทย และผู้มีถิ่นที่อยู่ทางภาษี หากอยู่ในประเทศไทย 180 วันในปีภาษีใดก็ต้องเสียภาษีในปีนั้น ๆ  

 

แต่หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 161/2566 และ 162/2566 ให้พนักงานกรมสรรพากรปฏิบัติ กำหนดว่า เงินได้พึงประเมินจากแหล่งเงินได้ต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค 67 เป็นต้นไป ในปีภาษีที่อยู่ในประเทศตั้งแต่ 180 วันขึ้นไป หากบุคคลนั้นนำเงินได้ฯ นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีดังกล่าวหรือในปีภาษีต่อมาภายหลัง จะต้องนำเงินได้ฯ มารวมคำนวณกับเงินได้ที่ได้รับในประเทศไทย เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในปีภาษีที่นำเงินได้ฯ เข้ามาในประเทศไทย ตามฐานภาษีเงินได้ฯ ของแต่ละคน 

 

ประเด็นนี้จึงทำให้ผู้ลงทุนเกิดความกังวลว่า ตนเองจะต้องเสียภาษีไม่คุ้มกับผลตอบแทนที่ได้รับมา เช่น หากปกตินักลงทุนมีรายได้ที่ต้องจ่ายภาษีในอัตรา 30% เงินได้ที่เป็นผลตอบแทนจากการลงทุนจากต่างประเทศ เช่น ได้ดอกเบี้ย หรือเงินปันผล หรือกำไรจากการขายหลักทรัพย์ 20% แต่กลับต้องมาเสียภาษี 30% ก็กลายเป็นขาดทุนกำไร  

 

ซึ่งปัจจุบัน กรมสรรพากรยังไม่ได้ออกแนวทางในการปฎิบัติในส่วนของเอกสารหลักฐานที่จะใช้ในการประกอบการพิจารณา หรือข้อหารือเพิ่มเติม ซึ่งนักลงทุนต้องติดตามข่าวสารจากกรมสรรพากร ทั้งนี้ มีการเริ่มเสียภาษีครั้งแรกตามกฎหมายนี้ ในเดือน มี.ค. 68  

 

ดังนั้น บล. ดาโอ จึงได้จัดทำเนื้อหา เตรียมความพร้อมเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการลงทุนในต่างประเทศ” มาให้นักลงทุนได้เตรียมความพร้อมสำหรับการเตรียมตัวและวางแผนภาษีจากการลงทุนต่างประเทศในปีนี้ โดยได้นำข้อมูลมาจากคุณประพันธ์ พิชัยวัฒน์โกมล ทนายความหุ้นส่วน Siam Premier International Law Office Limited ที่ได้พูดไว้ในงานสัมมนา 2024 DAOL Forum นโยบายเศรษฐกิจและแนวโน้มการลงทุนรับปีมังกร เมื่อวันที่ 29 ก.พ. 67 ที่ผ่านมา 

 

เทคนิคการบริหารจัดการเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการลงทุนในต่างประเทศ 01

 

เทคนิคการบริหารจัดการเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการลงทุนในต่างประเทศ 02

 

เทคนิคการบริหารจัดการเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการลงทุนในต่างประเทศ 03

 

เทคนิคการบริหารจัดการเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการลงทุนในต่างประเทศ 04

 

เทคนิคการบริหารจัดการเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการลงทุนในต่างประเทศ 05

 

เทคนิคการบริหารจัดการเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการลงทุนในต่างประเทศ 06

กลับสู่ด้านบน

combo-icon
certified

บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

DAOL Contact Center 0 2351 1800contactcenter@daol.co.th

DAOL Contact Center Address เลขที่ 87/2 อาคารซีอาร์ซีทาวเวอร์ ชั้นที่ 18 ออลซีซั่นส์เพลส ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

logo

and our member companies

บริษัทหลักทรัพย์บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรีท แมเนจเมนท์บริการสินเชื่อที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี

©2024 บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สงวนลิขสิทธิ์